top of page
Logow.png
  • Facebook
  • Instagram
  • TikTok
Search

ภัยเงียบของการนั่งทำงานนานๆ เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?

  • Apr 30
  • 1 min read

ทั้งวันหลังจากนั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมง เริ่มรู้สึกปวดหลัง ตึงไหล่ และปวดตาอย่างรุนแรง อีกทั้งยังเริ่มมีอาการปวดหัวและรู้สึกมึนงงเล็กน้อย นี่เป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่กำลังเข้าสู่ภาวะจากการ นั่งทำงานนานเกินไปและขาดน้ำ พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ หรือแม้แต่นักเรียน นักศึกษาที่ใช้เวลานานหน้าจอ ต่างก็ประสบปัญหาเดียวกันโดยไม่รู้ตัว จนกระทั่งอาการเหล่านี้สะสมและกลายเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปัญหาเกี่ยวกับระบบเผาผลาญ หรือแม้แต่โรคไตจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ

ชีวิตของพนักงานออฟฟิศกับการนั่งทำงานนานเกินไป หากคุณเป็นพนักงานออฟฟิศที่มีตารางงานแน่นทุกวัน ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ที่มักจะนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานเกือบตลอดเวลาเพื่อทำรายงาน ตอบอีเมล และเข้าประชุมออนไลน์ งานที่ต้องแข่งกับเวลาและความรับผิดชอบที่สูง ทำให้แทบไม่มีโอกาสลุกขึ้นจากเก้าอี้ "เดี๋ยวเสร็จงานนี้ก่อนค่อยพัก" ทุกครั้งเมื่อรู้สึกปวดหลังหรือเมื่อยล้า แต่แล้วก็ผ่านไปหลายชั่วโมงโดยที่ไม่ได้ขยับตัว แม้กระทั่งการดื่มน้ำก็มักถูกละเลย


ท่านั่งไหน ทำร้ายสุขภาพ

การนั่งผิดท่าติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อ กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนโลหิต


1. นั่งหลังค่อม/งอตัว

ผลกระทบ

  • เพิ่มแรงกดที่กระดูกสันหลัง ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็ว

  • กล้ามเนื้อคอ ไหล่ และหลังต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง

วิธีแก้ไข

  • นั่งให้หลังตรง ใช้พนักพิงช่วยพยุงหลังหรือใช้เบาะรองหลังเสริมให้เต็มเก้าอี้ เพื่อป้องกันช่องว่างระหว่างหลังกับเก้าอี้ ที่เป็นต้นเหตุทำให้หลังค่อม

  • ปรับความสูงของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา ใช้แท่นว่างโน๊ตบุ๊คเสริมให้หน้าจออยู่ในระดับสายตา


2. นั่งไขว่ห้าง

ผลกระทบ

  • ทำให้กระดูกเชิงกรานบิดเบี้ยว เกิดอาการปวดหลังและสะโพก

  • เพิ่มความเสี่ยงของเส้นเลือดขอด เนื่องจากขัดขวางการไหลเวียนโลหิต

  • หากนั่งนาน ๆ อาจทำให้ข้อเข่ามีอาการเสื่อม

วิธีแก้ไข

  • วางเท้าราบกับพื้นหรือใช้ที่รองเท้าเพื่อรักษาระดับเข่าให้เข่าอยู่ในมุม 90 องศา

  • หากต้องการเปลี่ยนท่าทาง ควรเปลี่ยนขาเป็นระยะ แทนการไขว่ห้างข้างเดียวนานๆ


3. นั่งแอ่นหลัง/เอนตัวไปข้างหน้า

ผลกระทบ

  • กระดูกสันหลังต้องรับแรงกดที่มากกว่าปกติ ทำให้ปวดหลังส่วนล่าง

  • กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดอาการตึงและอักเสบ

  • ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เพราะช่องท้องถูกกดทับ

วิธีแก้ไข

  • ปรับเก้าอี้ให้รองรับช่วงหลังล่าง เบาะรองนั่งเสริมจะช่วยให้ปรับท่านั่งที่ถูกต้อง

  • นั่งให้ก้นแนบพนักพิง เพื่อลดแรงกดที่หลังส่วนล่าง


4. นั่งกอดอก/ก้มหน้าใช้มือถือ

ผลกระทบ

  • ทำให้คอและไหล่ต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ก่อให้เกิดอาการปวดต้นคอและหัวไหล่

  • มีโอกาสเป็น "Text Neck Syndrome" หรืออาการปวดคอเรื้อรังจากการก้มหน้ามากเกินไป

วิธีแก้ไข

  • ใช้ที่วางโทรศัพท์ให้สูงขึ้น เพื่อลดการก้มคอ

  • ยืดคอบ่อย ๆ เพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อ


5. นั่งนานเกินไป โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ

ผลกระทบ

  • เพิ่มความเสี่ยงของ "ออฟฟิศซินโดรม"

  • การไหลเวียนโลหิตลดลง เสี่ยงเส้นเลือดขอดและลิ่มเลือดอุดตัน

  • ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง เสี่ยงโรคอ้วนและเบาหวาน

วิธีแก้ไข

  • ลุกขึ้นขยับตัวทุก 30-60 นาที

  • ใช้โต๊ะปรับระดับ หรือเก้าอี้ที่รองรับการเคลื่อนไหว

  • ทำท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างวัน



ข้อดีของการใช้เก้าอี้เพื่อสุขภาพในการทำงาน ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

ทำไมการเลือกเก้าอี้ทำงานถึงสำคัญ?

พนักงานออฟฟิศหรือผู้ที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน มักเผชิญกับอาการปวดเมื่อยและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ ปวดหลัง และปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวคือ เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ (Ergonomic Chair) หากเลือกใช้เก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังและโรคทางระบบกระดูกและข้อได้


Leanova เราสนับสนุนให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงเวลาและได้ใช้ชีวิตในสิ่งที่คุณต้องการ


 
 
 

Comments


© 2024 Leanova Thailand

bottom of page