top of page
Logow.png
  • Facebook
  • Instagram
  • TikTok
Search

เจาะลึกสาเหตุ ปวดคอหลังตื่นนอน รักษาให้หายขาดได้

  • 4 days ago
  • 1 min read

เคยไหม? ตื่นมาปวดคอจนรู้สึกไม่อยากลุกจากเตียง บทความนี้เราจะมาบอกสาเหตุของการปวดคอ บางรายปวดคอจากโรคที่เป็นอยู่ บางรายปวดคอจากหมอนที่นอนไม่ถูกกับสรีระ หรืออาการปวดคอตอนเช้าบางทีอาจไม่ใช่แค่เรื่องหมอนผิด แต่ลึกไปถึงพฤติกรรมการนอน ซึ่งมีหลายสาเหตุ การปวดคอมีหลายระดับ หากรู้ทันก็สามารถป้องกันและแก้ไขได้ ก่อนที่จะสายเกินไป




สาเหตุหลักของอาการปวดคอตอนเช้าเกิดจาก...

  • หมอนและที่นอนไม่ถูกกับสรีระ

  • นอนผิดท่า

  • กล้ามเนื้อเกร็งตัวสะสมจากความเครียด

  • หมอนรองกระดูกคอเสื่อม ออฟฟิศซินโดรม กล้ามเนื้ออักเสบ



หมอน กับ สุขภาพกระดูกคอ เกี่ยวพันกันมากกว่าที่คิด ถ้าเรานอนด้วยหมอนที่ไม่ตรงกับสรีระ ไม่เพียงแต่จะทำให้ตื่นมาปวดคอ แต่ยังเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดกระดูกคอเสื่อมเร็วขึ้นได้ด้วย


กรณีผู้ป่วยบางเคสก่อนหน้านี้นอนหมอนที่สูงมากๆ ไม่ตรงกับสรีระของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการเกร็งต้นคอขณะหลับมาตลอด สะสมการปวดเป็นระยะเวลานาน ผ่านไปนานเข้า จึงเป็นโรคกระดูกคอเสื่อมตามมาได้



เลเวลปวดคอสามารถแบ่งเป็น 3 ระยะหลัก ๆ 


1. ระยะเฉียบพลัน ปวดใหม่ ๆ มักเกิดจากการนอนผิดท่า ดูแลเบื้องต้นแล้วหายได้

 2. ระยะกึ่งเรื้อรัง ปวดแบบเรื้อรังนิด ๆ คอตึงตลอดเวลา ปรับการนอนและยืดกล้ามเนื้อช่วยได้

 3. ระยะเรื้อรัง ปวดตลอดเวลา ชา อ่อนแรงร่วม ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ



แก้ให้ถูกจุด ไม่งั้นเสี่ยงคอเสื่อมไม่รู้ตัว


  1. แก้ที่หมอน

หมอน เป็นปัจจัยสำคัญที่หลายคนมองข้าม แต่จริง ๆ แล้วมันมีผลอย่างมากต่อสุขภาพต้นคอและกระดูกสันหลัง ถ้าหมอนสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป อาจทำให้คออยู่ในท่าทางที่ผิดธรรมชาติตลอดทั้งคืน ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่าเกร็งโดยอัตโนมัติตลอดทั้งคืน


ผลเสียของการนอนหมอนที่ไม่ถูกกับสรีระ

  หมอนสูงเกินไป

  • ทำให้ศีรษะยกขึ้น คอพับไปข้างหน้า เกิดแรงกดทับบริเวณต้นคอ กล้ามเนื้อหลังคอเกร็งมากเกินไป

  • ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่ดี อาจรู้สึกปวดตึงคอ บ่า ไหล่ หลังจากตื่นนอน

หมอนต่ำเกินไป

  • ศีรษะเอียงต่ำเกินไป คอแหงนมากเกิน กล้ามเนื้อด้านหน้าคอต้องทำงานหนักตลอดคืน

  • อาจรู้สึกปวดคอและเจ็บช่วงบ่า แถมบางคนมีอาการ "นอนกรน" ร่วมด้วยเพราะทางเดินหายใจถูกบีบ


วิธีแก้

เลือกหมอนที่รองรับต้นคอพอดี ศีรษะไม่เงยหรือก้มเกินไป ที่นอนควรมีความแน่นปานกลาง รองรับสรีระได้ดี


  1. แก้ที่ท่านอน

การนอนผิดท่า เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปวดคอหลังตื่นนอน เพราะมันส่งผลต่อแนวกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนโลหิตโดยตรง กระดูกสันหลังและคอควรอยู่ในแนวตรง ขณะนอนหลับ แต่หากนอนผิดท่า กระดูกคออาจบิด โค้ง หรืองอผิดธรรมชาติ


เมื่อนอนท่าที่ผิด เป็นเวลานาน แรงกดจากน้ำหนักศีรษะ จะถ่ายเทผิดจุด ทำให้คอรับน้ำหนักมากเกินไป กล้ามเนื้อคอต้องทำงานหนักเพื่อพยุงศีรษะให้อยู่ในตำแหน่งที่สมดุล


 วิธีแก้

  • ท่านอนหงาย เป็นท่าดีที่สุด ต่อกระดูกสันหลัง แนวกระดูกสันหลังจะเรียงตัวกันเป็นธรรมชาติ ช่วยกระจายน้ำหนักทั่วร่างกาย

  • นอนตะแคง  หมอนต้องสูงพอดีให้คออยู่แนวเดียวกับกระดูกสันหลัง จึงต้องมีการวัดสรีระของผู้นอนก่อน จึงจะสามารถเลือกหมอนให้เหมาะกับผู้นอนได้อย่างถูกต้อง

  • เลี่ยงการนอนคว่ำ


  1. กล้ามเนื้อตึงเกร็งสะสม

เกิดจากการนั่งทำงานนาน ๆ หรือ ก้มจ้องมือถือนานเกินไป จนกล้ามเนื้อคอเกร็งสะสม โรค Text Neck Syndrome พอกล้ามเนื้ออักเสบสะสม ตื่นเช้ามาก็ยังไม่หายตึง ทำให้ปวดคอ



 วิธีแก้

  • ยืดกล้ามเนื้อคอและบ่าเบา ๆ ก่อนนอน

  • ปรับท่านั่งทำงานให้เหมาะสม ระดับจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ระดับสายตา


  1. กระดูกคอเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกคอมีปัญหา

หมอนรองกระดูกคอ คือ แผ่นเจลนิ่ม ๆ ที่อยู่ระหว่างกระดูกคอแต่ละข้อ ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกและช่วยให้คอเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น เมื่อหมอนรองกระดูกเกิดปัญหา เช่น หมอนรองกระดูกปลิ้น หรือ ฉีกขาด จะทำให้ เนื้อเยื่อในหมอนรองกระดูก  ดันออกมากดทับเส้นประสาท ส่งผลให้ปวดคอร้าวลงแขนได้


วิธีแก้

  • ถ้ามีอาการปวดต่อเนื่อง ร้าวลงแขน หรือชา ควรพบแพทย์เพื่อตรวจ X-ray หรือ MRI

  • ทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกายเสริมกล้ามเนื้อคอ



เลือกหมอนดี ๆที่เหมาะกับสรีระ เลือกท่านอนให้ถูกต้อง และยืดกล้ามเนื้อก่อนนอน อาการปวดคอตอนเช้าก็จะลดลง หรือบรรเทาลงได่ อาการปวดเหล่านี้จะไม่เกิด หากคุณรู้จักวิธีป้องกันและวิธีแก้ หาหมอนที่เหมาะกับสรีระและปรับท่านอนให้ถูกต้อง รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อต้นคอและกระดูกสันหลัง


Leanova เราสนับสนุนให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงเวลาและได้ใช้ชีวิตในสิ่งที่คุณต้องการ



ขอขอบคุณที่มา : โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง รพ เอส สไปน์ (https://www.s-spinehospital.com/)


 
 
 

Comments


© 2024 Leanova Thailand

bottom of page