มาทำความรู้จักกับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)
- Nov 27, 2024
- 1 min read
Updated: Dec 3, 2024
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) เป็นความผิดปกติในการนอนหลับที่ทำให้การหายใจหยุดชะงักเป็นระยะๆ ในขณะนอนหลับ ซึ่งเกิดจากการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบน ภาวะนี้สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับและสุขภาพโดยรวมอย่างรุนแรง
ลักษณะของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) มีอาการอย่างไร
การหยุดหายใจชั่วคราว
ผู้ป่วยจะมีการหยุดหายใจเป็นระยะๆ ในขณะนอนหลับ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้งในคืนเดียว
การกรนดัง
ตื่นตัวบ่อย สะดุ้งตื่นขณะหลับ
นอนไม่เพียงพอ ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น

สาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)
การอุดตันของทางเดินหายใจ การอุดตันอาจเกิดจากการบวมของเนื้อเยื่อในลำคอ เช่น ต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์, การสะสมของไขมันรอบคอ, หรือการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อในลำคอ
โครงสร้างของปากและลำคอ เช่น โครงสร้างของเพดานปาก, ขนาดของลิ้น หรือกรามที่เล็กเกินไป
พันธุกรรม มีความเสี่ยงสูงและสามารถเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
ปัจจัยอื่นๆ เช่น น้ำหนักเกิน, การสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอล์, และเป็นโรคปัญหาภูมิแพ้
จุดเริ่มต้นของการเสี่ยงเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การนอนกรนเสียงดัง มักเป็นสัญญาณของปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ การตื่นตัวบ่อย มีอาการตื่นบ่อยๆระหว่างการนอนหลับ เพราะ หยุดหายใจขณะหลับ มีความรู้สึกเหนื่อยล้า รู้สึกเหนื่อยในระหว่างวัน สาเหตุมาจากการตื่นระหว่างการนอน ทำให้นอนหลับไม่เต็มที่ตามวงจรการนอนหลับ ปัญหาสุขภาพ เช่น ปวดหัวตอนเช้า, ความจำสั้น ไม่มีสมาธิ, และมีความดันโลหิตสูง ปัญหาเหล่านี้หากคุณสังเกตตัวเอง และเริ่มทำการรักษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน ก็จะช่วยลดภาวะเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ
ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ผู้สูงอายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากเนื้อเยื่อในลำคออาจอ่อนตัวลง และกล้ามเนื้อที่ควบคุมทางเดินหายใจอาจผ่อนคลาย
ผู้ชาย ผู้ชายมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงในการเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือหลังจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน (menopause) ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเช่นกัน
น้ำหนักเกินและโรคอ้วน การสะสมไขมันรอบคอสามารถทำให้ทางเดินหายใจแคบลงและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเสี่ยงสูง
พันธุกรรม หากมีประวัติครอบครัวเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป
โรคภูมิแพ้และไซนัสอักเสบ ภาวะที่ทำให้ทางเดินหายใจบวมและอุดตัน
ความดันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจทำให้เกิดหรือเพิ่มความรุนแรงของความดันโลหิตสูง
สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบในทางเดินหายใจ
ดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์สามารถทำให้กล้ามเนื้อในลำคอผ่อนคลายมากเกินไป ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงได้
หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงปลายของการตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใขขณะหลับ
ป้องกันความเสี่ยงจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)
หากคุณเริ่มมีอาการนอนกรน หรือคนรอบข้างเริ่มทักว่านอนกรน ให้เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนของคุณ เพราะว่าการนอนที่ดีบ่งบอกถึงสุขภาพของคุณ อีกทั้งยังส่งผลถึงสุขภาพในอนาคตของคุณได้อีกด้วย หากคุณนอนกรนและมีอาการตื่นระหว่างการนอน อาจเสี่ยงเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เรามีวิธีป้องกันและรักษาเพื่อเป็นแนวทางในการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ
การวินิจฉัยและการรักษา ป้องกัน
ปรับพฤติกรรม
นอนตะแคง เป็นท่าที่ลดการนอนกรนได้ หากคุณเริ่มนอนกรน ให้ลองเปลี่ยนเป็นนอนตะแคงดู
ใช้เครื่องนอนที่ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจได้สะดวก ลดอาการนอนกรน อย่าง หมอนเพื่อสุขภาพ ที่มีระดับความสูงที่พอดีเหมาะกับสรีระ ลดการอุดตันของทางเดินหายใจและช่วยการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อในลำคอได้
ปรับเปลี่ยนการลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์, และหยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้ ที่เป็นความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การวินิจฉัย
การศึกษาเกี่ยวกับการนอนหลับ (Polysomnography) การศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมทางชีวภาพในขณะนอนหลับ เพื่อวัดการหยุดหายใจและการทำงานของร่างกาย
การติดตามการนอนหลับที่บ้าน อุปกรณ์ติดตามที่บ้านสามารถใช้เพื่อวัดการหายใจและสัญญาณทางชีวภาพ
การรักษา
เครื่องช่วยหายใจ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) เครื่องช่วยหายใจที่ให้ลมในระดับความดันคงที่เพื่อเปิดทางเดินหายใจ
ใช้เครื่องมือ เช่น เครื่องช่วยหายใจที่ปรับเปลี่ยนตามความต้องการ (APAP หรือ BiPAP)
การผ่าตัด ในบางกรณี การผ่าตัดอาจจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางเดินหายใจ
โดยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะนี้สามารถหยุดหายใจขณะนอนหลับมากกว่า 10 ครั้งขึ้นไป พร้อมมีอาการนอนกรนร่วมด้วย หากคุณสังเกตอาการการนอนตัวเอง และปัจจัยความเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เมื่อเริ่มมีอาการนอนกรนเป็นสัญญาณเตือน ให้เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตและการนอนได้เบื้องต้น โดยเริ่มต้นจากการลดน้ำหนัก และตรวจดูชุดเครื่องนอนของคุณเหมาะสมกับสรีระร่างกายหรือเปล่า หากหมอนมีความต่ำหรือสูงเกินไปมีผลต่อการนอนกรน สู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ เรามีทางเลือกที่ดีต่อการนอนหลับอย่างมีคุณภาพด้วยหมอนเพื่อสุขภาพ Leanova สามารถวิเคราะห์สรีระเพื่อหาหมอนที่เหมาะสมกับการนอนของคุณได้
Comments